เกสรบัวหลวง ประโยชน์มากกว่าที่คิด ของดีที่อยากบอกต่อ

ร้านขายยาจีน เป่ยจิน

เกสรบัวหลวง

สูตรสมุนไพร แก้ อัลไซเมอร์” มีดังนี้

1. เกสรดอกบัวหลวง 1 หยิบมือ

2. มะตูมแห้ง 3 แว่น (หากเอาไปคั่ว ในกระทะ หรือ ปิ้งจะหอมยิ่งขึ้น)

3. ตะไคร้สด 3 ต้น ถามเขาว่า ตะไคร้แห้งได้ไหม กรณีคนไม่มีต้นตะไคร้ เธอบอกว่าคงได้ แต่สู้ ตะไคร้สดๆ ไม่ได้ (ใครอยากใส่ใบเตย ไปด้วยก็ได้ 3 ใบ)

4. น้ำ 1 ลิตร ต้มด้วยกัน จนน้ำมะตูมบานออก ก็พอ แล้วดื่มวันละ 1 แก้ว

 

ใครเริ่มหลงลืม ทดลองต้มดื่มดูนะ ใครที่มีคุณพ่อ คุณแม่เป็นอัลไซเมอร์ ก็ต้มกินได้เลยค่ะ เพราะ มะตูมเป็นยาบำรุงธาตุอย่างดี ในวัยผู้สูงอายุ ส่วนตระไคร้ ขับลมในร่างกาย ส่วนเกสรดอกบัว เหมาะสำหรับบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจ ชุ่มชื่น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกคน สามารถทำเป็นชา ทานได้ประจำ โรคขี้หลงขี้หลง ขี้ลืม จากสาเหตุคือลมขึ้นเบื้องสูง ก็จะค่อยๆ หายไปเอง

 

สูตรสำหรับสตรีมีครรภ์

            สูตรที่ 1สำหรับสตรี ที่มีอาการแพ้ท้อง ใช้เกษรบัวหลวง ดอกบัวจงกลณี หัวแห้วหมู และกระจับ สมุนไพรทั้ง ๕ ชนิด ทำบดเป็นผง ละลายกับน้ำซาวข้าว กินแก้อาการแพ้ท้องได้ดี อีกด้วย

            สูตรที่ 2ใช้จันทน์หอม เกษรบัวเผื่อน เกษรบัวหลวง หนักสิ่งละ ๕ บาท เหนียวกันยา หนัก ๑๐ บาท บดผงยานี้ทานได้ ตั้งแต่เริ่มท้อง จน คลอด ช่วยบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์ได้ไปจนถึงเด็กในครรถ์ จะมีสุขภาพแข็งแรง เฉลียวฉลาด ท่านให้ประกอบยานี้กินไปจนถึงคลอดได้

 

สูตรบำรุงหัวใจ 

เกสรปรุงเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการหน้ามืด วิงเวียนทำให้ชื่นใจ เป็นยาสงบประสาท ขับเสมหะ

1. เกสรบัวหลวงสด หรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง 

2. เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผงครั้งละ 0.5 -1 ข้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มหรือใช้ในขนาด 3-5 กรัม

 

         วิธีชงชา เกสรบัวหลวง

1. รินน้ำร้อนที่ต้มจนเดือดแล้ว เทใส่ลงในถ้วยชา

2. นำเกสรบัวหลวงที่ตากแห้งแล้ว มาใส่ลงในถ้วยชาประมาณ 1 หยิบมือ 

3. ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ก็จะได้ชาเกสรบัวพร้อมดื่ม ที่หอมกลิ่นเกสรดอกบัว 

         องค์ประกอบทางเคมี :

เกสรบัว มีฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น quercetin, luteolin, isoquercitrin, luteolin glucoside และมีรายงานพบแอลคาลอยด์ด้วย

        การศึกษาทางเภสัชวิทยา :

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ :

สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่พบในเกสร และดอกบัว มีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยเกสรตัวผู้มีฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ DPPH โดยมีค่า EC50 42.05 ug/ml

ฤทธิ์ต้านเบาหวาน : 

เกสรตัวผู้ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง rat lens aldose reductase (RLAR) และ advance glycation end products (AGE) โดยมีค่า IC50 48.30 และ 125.48 ug/ml ตามลำดับ ซึ่งการยับยั้ง RLAR และ AGEมีผลต่อการลดการเกิดภาวะเบาหวาน

ฤทธิ์ทำให้นอนหลับ : 

สารแอลคาลอยด์ ที่พบในบัว มีผลทำให้หนูนอนหลับ สารสกัดเมทานอลจากเหง้าบัว ทำให้ลดพฤติกรรม และกิจกรรมต่างๆในสัตว์ โดยเพิ่มการเกิด pentobarbitone-induced sleeping time ในหนู

ฤทธิ์ลดปวด และต้านการอักเสบ :

สารแอลคาลอยด์ ที่พบในบัว มีฤทธิ์ลดอาการปวด และแก้อักเสบสารสกัดเมทานอลจากเหง้า ในขนาด 200 มก./กก.

และ 400 มก./กก. ลดการอักเสบในหนู โดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ phenylbutazone และdexamethasoneทั้งการทดสอบในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง

          ข้อควรระวัง:

เกสรบัวหลวงอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน(โดยเฉพาะคนที่แพ้เกสรดอกไม้)

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=24

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า